สถานที่ : การยางแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าจ้าง : การยางแห่งประเทศไทย
วันที่เริ่มโครงการ : 31 มกราคม 63
วันสิ้นสุดโครงการ : 26 ตุลาคม 63
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้การยางแห่งประเทศไทยมีการสร้างองค์ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงานในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร
2. เพื่อให้การยางแห่งประเทศไทยมีกรอบการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Framework) ที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กร
3. เพื่อให้การยางแห่งประเทศไทยมีการสำรวจ วิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture)และสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ชัดเจนต่อสถานะปัจจุบันสถาปัตยกรรมองค์กร (Current Enterprise Architecture) ทั้ง 5 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านธุรกิจ (Business) ด้านแอปพลิเคชัน (Application) ด้านข้อมูล (Data) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และด้านความปลอดภัย (Security)
4. เพื่อให้การยางแห่งประเทศไทยมีการแสดงผลให้เห็นถึงสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (High Level Target Architecture)
5. เพื่อให้การยางแห่งประเทศไทยมีคู่มือในการพัฒนาและการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อความยั่งยืน
ขอบเขตโครงการ
1. จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรของ การยางแห่งประเทศไทย โดยละเอียด พร้อมแสดงผลลัพธ์ของการดำเนินงานรายกิจกรรม และจัดให้มีการประชุมเริ่มงาน (Kick-Off Meeting) เพื่อนำเสนอแผนการดำเนินงานให้พิจารณาก่อนการดำเนินงานจริง
2. ประเมินระดับความพร้อมต่อการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรของ การยางแห่งประเทศไทย และและคัดเลือกกรอบแนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรต้นแบบของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
2.1 ศึกษาเปรียบเทียบกรอบการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Framework) อย่างน้อย 3 กรอบแนวทางพัฒนา เช่น TOGAF, Zachman, FEAF, Gartner เป็นต้น และพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวทางที่เหมาะสมก่อนนำมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรต้นแบบของการยางแห่งประเทศไทย
2.2 ประเมินระดับความพร้อมของ การยางแห่งปรเทศไทย ต่อการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กร ทั้ง 5 ด้าน รวมถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของ
2.3 จัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาการประเมินความพร้อมผลการคัดเลือกกรอบแนวทางในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Framework) ที่เหมาะสมกับการยางแห่งประเทศไทย
3. จัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี/องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) โดยจัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวผ่านการฝึกอบรม 2 หลักสูตร
3.1 หลักสูตร EA for Executive สำหรับผู้บริหาร เป็นระยะเวลา 3 ชม. (0.5 วัน) จำนวน 1 รุ่น
3.2 หลักสูตรการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร สำหรับผู้ปฏิบัติงาน เป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง (2 วัน) จำนวน 2 รุ่น
4. สำรวจ วิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) ของการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ได้แก่
4.1 สถาปัตยกรรมการดำเนินงาน (Business Architecture)
4.2 สถาปัตยกรรมด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data Architecture)
4.3 สถาปัตยกรรมด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture)
4.4 สถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน (Technology Architecture)
4.5 สถาปัตยกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Architecture)
5. ออกแบบและจัดทำรายงานสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (Target Enterprise Architecture) ที่ครอบคลุมตามหลักการของสถาปัตยกรรมองค์กรได้แก่
5.1 สถาปัตยกรรมการดำเนินงาน (Business Architecture)
5.2 สถาปัตยกรรมด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data Architecture)
5.3 สถาปัตยกรรมด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture)
5.4 สถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน (Technology Architecture)
5.5 สถาปัตยกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Architecture)
6. จัดทำคู่มือการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Governance) เพื่อให้ กยท. ใช้เป็นคู่มือการพัฒนาและการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กรที่ยั่งยืน