โครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568 – 2570)

สถานที่ : สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

ผู้ว่าจ้าง : สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

วันที่เริ่มโครงการ : 22 พฤศจิกายน 2567

วันสิ้นสุดโครงการ : 20 พฤษภาคม 2568

วัตถุประสงค์
1. เพื่อทบทวนและปรับปรุงเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568 – 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ให้มีกรอบและทิศทางการดําเนินงานที่ชัดเจน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์การดําเนินงานขององค์กร สถาปัตยกรรมองค์กรของสำนักงานคณะกรรมการ การแข่งขันทางการค้า รวมถึงมีแผนรองรับการปฏิบัติราชการแบบอิเล็กทรอนิกส์ และการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกมิติ
2. เพื่อทบทวนสถาปัตยกรรมองค์กรปัจจุบันของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (As-Is Enterprise Architecture) และวางแผนจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายของสำนักงาน คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (To-Be Enterprise Architecture) ให้สอดคล้องกับภารกิจ ของสำนักงาน กขค.
3. เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพแวดล้อมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลในการดําเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ในสภาพปัจจุบัน เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนา ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้สนับสนุนการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ตามแนวนโยบายดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand)
4. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ทบทวนนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาปัจจัยภายนอก และภายใน สภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
5. เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนา และนําเสนอการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการ การแข่งขันทางการค้าด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
6. เพื่อให้สำนักงานมีกรอบการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงทุกด้านได้อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน รวมทั้งมีการดำเนินการเพื่อสร้างพื้นฐานในการป้องกันความเสี่ยงระยะยาวที่สำคัญให้สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

ขอบเขตการดำเนินงาน
4.1 จัดทำรายละเอียดและแผนเริ่มงาน
4.1.1 กำหนดโครงสร้างการทำงาน พร้อมระบุบทบาทความรับผิดชอบของที่ปรึกษา
4.1.2 จัดทำแผนการการดำเนินโครงการ โดยจะต้องประกอบรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
4.1.2.1 ขอบเขตของงาน
4.1.2.2 ขั้นตอน รูปแบบ วิธีการดําเนินงาน
4.1.2.3 ระยะเวลาการดําเนินงานตลอดโครงการ และในแต่ละขั้นตอน
4.1.2.4 แผนการดําเนินงานในรูปแบบ Gantt Chart
4.1.2.5 รายชื่อผู้ประสานงานโครงการและรายละเอียดการติดต่อ
4.1.3 จัดให้มีการประชุมเริ่มงาน (Kick off Meeting) ร่วมกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เพื่อนําเสนอ แผนการดําเนินงานตามข้อ 4.1.2 ให้พิจารณาอนุมัติก่อนการดําเนินงานจริง ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ลงนามในสัญญา
4.2 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำบทวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
4.2.1 ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลปัจจัยสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก สำนักงาน กขค. และแนวโน้มเทคโนโลยีในอนาคต (Technology Trends) เพื่อประเมินสถานภาพ ในการนําประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภารกิจของแต่ละฝ่ายงาน ในสำนักงาน กขค. โดยปัจจัยภายในและภายนอกที่ต้องพิจารณา อย่างน้อยต้องประกอบไปด้วยปัจจัย ดังนี้
ปัจจัยภายนอก
(1) ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)
(2) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570
(3) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570)
(4) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561 – 2580
(5) พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560
(6) พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562
(7) พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565
(8) พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
(9) กฎหมายต่าง ๆ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560) พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไข เพิ่มเติม เป็นต้น
(10) มาตรฐาน/เกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น
•มาตรฐาน ISO/IEC 27001:2022
•มาตรฐานที่ออกโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Development Agency : DGA) เช่น มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ มาตรฐาน Application ภาครัฐสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เป็นต้น
ปัจจัยภายใน
(1) นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการ
(2) โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ
(3) แผนปฏิบัติการระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2567 – 2570) ของสำนักงาน กขค.
(4) ตัวชี้วัดองค์กร
(5) แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลของสำนักงาน กขค. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564 – 2566)
(6) สถาปัตยกรรมองค์กรของสำนักงาน กขค.
(7) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนการดําเนินงานขององค์กร
(8) โครงสร้างการกำกับดูแลและการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(9) คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับของสำนักงาน กขค. ที่เกี่ยวข้อง
4.2.2 ศึกษาและวิเคราะห์สถานภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในสภาวะปัจจุบันและอนาคต ของสำนักงาน กขค. เพื่อประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) ความต้องการและความคาดหวังในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับภารกิจของแต่ละฝ่ายงาน ในสำนักงาน กขค. เพื่อสนับสนุนการดําเนินงานตามภารกิจหลักของสำนักงาน กขค. โดยต้องมี รายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
4.2.2.1 โครงสร้างองค์กร อำนาจหน้าที่ ภารกิจ และแผนงานของสำนักงาน กขค.
4.2.2.2 การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมดในสภาวะปัจจุบัน รวมถึงปัญหา อุปสรรค ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน
4.2.2.3 ภาพรวมสถาปัตยกรรมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน
4.2.2.4 ผังโครงสร้างภาพรวมการทำงานของระบบสารสนเทศทั้งหมดของสำนักงาน กขค.
4.2.2.5 ความต้องการการใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก
4.2.2.6 การวิเคราะห์โครงสร้าง อัตรากําลัง สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศของสำนักงาน กขค.
4.2.2.7 การวิเคราะห์นโยบายด้านความมั่นคงและปลอดภัยทางด้านสารสนเทศและข้อมูลของสำนักงาน กขค.
4.2.2.8 การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสารสนเทศและการประเมินความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ของสำนักงาน กขค.
4.2.3 วิเคราะห์โดยใช้หลักการ TOWS Matrix ประกอบการแก้ปัญหาและเพิ่มมุมมองผลการวิเคราะห์ ที่ได้จาก SWOT ไปใช้เป็นองค์ประกอบในการจัดทำกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับกลยุทธ์การบริหารองค์กร
4.2.4 วิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) ยุทธศาสตร์ของแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลของสำนักงาน กขค. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564 – 2566) เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลของสำนักงาน กขค. ระยะ
3 ปี (พ.ศ. 2568 – 2570)
4.2.5 สํารวจและสัมภาษณ์ผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อประเมินถึงการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สนับสนุน การดําเนินงานของสำนักงาน กขค. รวมทั้งรับนโยบายและความต้องการ เพื่อนําไปกำหนดวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์เทคโนโลยีดิจิทัลของ สำนักงาน กขค.
4.2.6 จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ร่วมกับแต่ละฝ่ายงาน โดยศึกษา วิเคราะห์ ทบทวนสถานภาพ ปัจจุบัน พร้อมทั้งสํารวจความต้องการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในอนาคต เพื่อใช้เป็นข้อมูลนําเข้าในการ ปรับปรุงสถาปัตยกรรมที่มีอยู่ (As-Is Architecture) ออกแบบสถาปัตยกรรมเป้าหมาย (To-Be Architecture) และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของสำนักงาน กขค. ทั้งนี้ ต้องดำเนินการ ให้ครอบคลุมสถาปัตยกรรมองค์กรทั้ง 5 ด้าน ดังนี้
(1) ด้านกระบวนการทำงาน (Business Architecture) ศึกษา สํารวจ วิเคราะห์ ทบทวนโครงสร้างองค์กร ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัดของสำนักงาน กขค. และกระบวนการทำงานของทุกฝ่ายงาน
(2) ด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture) ศึกษา สํารวจ วิเคราะห์ ทบทวนรายละเอียดของแต่ละระบบงาน และโปรแกรมประยุกต์ที่มีอยู่ในสำนักงาน กขค.
(3) ด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data/Information Architecture) ศึกษา สํารวจ วิเคราะห์ ทบทวน ข้อมูลที่สำคัญที่อยู่ในกระบวนการต่าง ๆ ภายในสำนักงาน กขค. และรายการข้อมูลที่ให้บริการแก่หน่วยงานภายนอก
(4) ด้านเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน (Technology/Infrastructure Architecture) ศึกษา สํารวจ วิเคราะห์ ทบทวนแผนผังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แผนผังระบบเครือข่าย การจัดแบ่งพื้นที่ (Zone Diagram) และการแบ่งกลุ่มผู้ใช้งาน
(5) ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Architecture) ศึกษา สํารวจ วิเคราะห์ ทบทวนนโยบาย ด้านความมั่นคงปลอดภัยของสำนักงาน กขค.
4.2.7 กำหนดกรอบแนวคิดในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลของสำนักงาน กขค. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568 – 2570)
4.3 การทบทวน วิเคราะห์ และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร
4.3.1 ทบทวน/ปรับปรุง Conceptual Design กระบวนการต่าง ๆ ของสำนักงาน กขค. และจัดทำConceptual Design ในส่วนของกระบวนงานที่เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กรในปัจจุบัน
4.3.2 วิเคราะห์และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรที่มีอยู่ของสำนักงาน กขค. (As-Is Architecture) พร้อมทั้งออกแบบสถาปัตยกรรมเป้าหมายของสำนักงาน กขค. (To-Be Architecture) โดยจัดทำรายงานเชิงสถาปัตยกรรมจากเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่ง ซึ่งต้องสามารถแสดงผลอย่างน้อย ดังนี้
4.3.2.1 ด้านกระบวนการทำงาน (Business Architecture)
(1) ไดอะแกรมความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดองค์กรและบริการ
(2) ภาพรวมของกระบวนการธุรกิจ รวมถึง Business Capability
(3) ตารางความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการปฏิบัติงานและส่วนงาน
4.3.2.2 ด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture)
(1) ภาพรวมของแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับการดําเนินงาน
(2) รายการของแอปพลิเคชันตามภารกิจหลัก และภารกิจสนับสนุน
(3) แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อของระบบงาน (Interface diagram)
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันกับเทคโนโลยี
(5) ความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันธุรกิจและส่วนงาน
(6) ความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันสนับสนุนและส่วนงาน
(7) ความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันและกระบวนการปฏิบัติงาน
(8) ความสัมพันธ์ระหว่างแอปพลิเคชันภายนอกและแอปพลิเคชันภายใน
4.3.2.3 ด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data/Information Architecture)
(1) ภาพรวมของข้อมูลภายในองค์กร (ฐานข้อมูล และไฟล์ข้อมูล)
(2) รายการข้อมูล
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและแอปพลิเคชัน
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ฐานข้อมูล และเครื่องที่เก็บฐานข้อมูล
4.3.2.4 ด้านเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน (Technology/Infrastructure Architecture)
(1) ภาพรวมของโครงสร้างพื้นฐาน
(2) รายการของโครงสร้างพื้นฐาน
(3) แผนผังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบเครือข่าย การจัดแบ่งพื้นที่(Zone Diagram)
(4) ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างพื้นฐาน (ฮาร์ดแวร์) และแอปพลิเคชันที่สำนัก กขค. ใช้งาน
(5) ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างพื้นฐาน (ระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์) และแอปพลิเคชัน สนับสนุน
4.3.2.5 ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Architecture)
(1) ภาพรวมของมาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัย
(2) รายการมาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัย
(3) ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยกับส่วนงาน
4.4 การวิเคราะห์และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล
4.4.1 วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญโครงการตามแผนปฏิบัติการดิจิทัลของสำนักงาน กขค. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568 – 2570) โดยจำนวนโครงการและลำดับความสำคัญต้องพิจารณา ให้เหมาะสมกับภาระงานและบุคลากรในปัจจุบัน รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ ในแต่ละด้านของสำนักงาน กขค.
4.4.2 วิเคราะห์และประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในส่วนของโครง