จ้างที่ปรึกษาการศึกษาเพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Data Center) กรุงเทพมหานคร

สถานที่ : สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

ผู้ว่าจ้าง : สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

วันที่เริ่มโครงการ : 16 พฤศจิกายน 2567

วันสิ้นสุดโครงการ : 8 กรกฎาคม 2569

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษา ทบทวน รวบรวม และวิเคราะห์ความต้องการใช้ข้อมูล รูปแบบของข้อมูล และระบบข้อมูลสารสนเทศด้านคมนาคม
2. เพื่อจัดทำกรอบการพัฒนาระบบเทคโนโลยีขององค์กรและกรอบการพัฒนาศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Data Center) สำหรับเป็นแนวทางการพัฒนาไปสู่องค์กรดิจิทัล
3. เพื่อจัดทำศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Data Center) สำหรับเผยแพรข้อมูลสารสนเทศด้านคมนาคมแก่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน และใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำนโยบายและแผนด้านคมนาคม รวมทั้งเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในระดับนโยบายของผู้บริหารของกระทรวงคมนาคม

ขอบเขตการดำเนินงาน
๔.๑ ที่ปรึกษาจะต้องดำเนินงานตามขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา ดังนี้
ขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา ประกอบด้วยงาน ๕ ส่วน ดังต่อไปนี้
๔.๑.๑ งานส่วนที่ ๑ การศึกษา รวบรวมความต้องการใช้ข้อมูลประกอบการจัดทำนโยบายและแผน รวมทั้งการตัดสินใจด้านคมนาคม
(๑) ศึกษา ทบทวนนโยบายและแผนด้านคมนาคมที่เกี่ยวข้อง เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๖- ๒๕๕๔๘๐) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๖๖๖ – ๒๕๗๐ นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงคมนาคมแผนปฏิบัติการด้านคมนาคม รวมทั้งทบทวนแผนปฏิบัติราชการและแผนวิสาหกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การคมนาคม พลังงาน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ และศึกษาและทบทวนแนวทางการจัดทำแผนและตัวชี้วัดด้านคมนาคมของต่างประเทศ
(๒) ศึกษา รวบรวมข้อมูลและตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับคมนาคมของต่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก (World Bank) สถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Managernent Development: IMD) สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เป็นต้น
(๓) รวบรวมและสอบถามความต้องการการใช้ข้อมูลด้านการคมนาคมจากผู้รับบริการเช่น ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม หน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกสังกัดกระทรวงคุมนาคมที่เถียวข้องสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สมาพันธ์โลจิสติกสไทยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้นต้น
(๔) รวบรวมรายการข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการกำหนดนโยบายและแผนด้านการคมนาคม
๔.๑.๒ งานส่วนที่ ๒ การศึกษา ทบทวนรูปแบบของข้อมูลและระบบข้อมูลสารสนเทศ
(๑) ศึกษา ทบทวนรูปแบบข้อมูลด้านคมนาคม หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ของหน่วยงานภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงคมนาคม รวมทั้งศึกษา ทบทวนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต่ำเนินการอยู่ในปัจจุบันและความพร้อมด้านการเชื่อมโยงข้อมูลและการรับส่งส่งข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ (Application Program Interface : API) หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๒) ศึกษา ทบทวนรูปแบบข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดำเนินงานในปัจจุบันของ สนข. รวมทั้งความพร้อมด้านการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง สนข. และหน่วยงานภายนอก สนข.
(๓) วิเคราะห์และเปรียบเทียบรายการข้อมูลด้านคมนาคมและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่มีในปัจจุบันกับรายการข้อมูลที่ต้องดำเนินการพัฒนาเพิ่มเพิ่มเติมเพื่อกำหนดรายการข้อมูลสารสนเทศด้านคมนาคมที่จำเป็น
๔.๑.๓ งานส่วนที่ ๓ การจัดทำกรอบการพัฒนาระบบเทคโนโลยีขององค์กร (Enterprise Architecture) และกรอบการพัฒนาศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Data Center)
(๑) ศึกษา รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแผน ยุทธศาสตร์ เทคโนโลยี และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) และการจัดทำสถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลด้านคมนาคมและแนวทางการพัฒนาศูนย์ข้อมูลด้านคมนาคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(๒) ประเมินความพร้อมของระบบเทคโนโลยีและการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของ สนข. พร้อมจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินความพร้อมของการพัฒนา สนข. ไปสู่องค์กรดิจิทัล
(๓) ศึกษากรอบแนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรที่เหมาะสม โดยดำเนินการเปรียบเทียบกรอบแนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรตามมาตรฐานสากล พร้อมจัดทำรายงานสรุปผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะในการคัดเลือกกรอบแนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรที่เหมาะสมาะสมได้
(๔) จัดทำภาพรวมการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของ สนข. และแผนปฏิบัติการซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและความแตกต่าง (Gap Analysis) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาในอนาคต และดำเนินงานและหรือกิจกรรมที่ สนข. มีความพร้อม รวมทั้งพัฒนาระบบติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการของ สนข. แผนปฏิบัติการดิจิทัลของ สนข. เพื่อขับเคลื่อน สนข.ไปสู่องค์กรดิจิทัล และแผนงานบูรณาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่สามารถแสดงผลในรูปแบบของแผนที่ที่ระบุพิกัด และติดตั้งระบบดังกล่าวไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
(๕) จัดทำสถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Data Center) ซึ่งจะต้องอธิบายรายละเอียดของข้อมูล โครงสร้างข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูล ความหมายของข้อมูลและเงื่อนไขบังคับความสอดคล้องกันของข้อมูล กำหนดมาตรฐานในการพัฒนา และสรุปรายการซอฟต์แวร์ที่ต้องดำเนินการพัฒนา และจัดทำแผนปฏิบัติการศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย โครงสร้างบุคลากรในการดำเนินงาน แผนการดำเนินโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน เป็นต้น รวมทั้งข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม และแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไฟยสกมารถดำเนินภาลได้อย่างต่อเนื่อง
๔.๑.๔ งานส่วนที่ ๔ การจัดทําศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Data Center)
(๑) ศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบโครงสร้างศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Data Center) โดยต้องแสดงความสัมพันธ์ของรายการข้อมูล ฟังก์ชันการทํางานของระบบ การเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูล ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการพัฒนา เทคโนโลยี และพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ของระบบที่ออกแบบ
(๒) พัฒนาระบบฐานข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Database System) โดยต้องแสดงความสัมพันธ์ของรายการข้อมูล ฟังก์ชันการทํางานของระบบ การเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง โดยออกแบบระบบฐานข้อมูลอย่างน้อยประกอบไปด้วย คลังข้อมูล (Data Warehouse) ที่มีความ ยืดหยุ่นเพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมากได้ทั้งข้อมูลในรูปแบบที่มีโครงสร้าง (Structured Data) และรูปแบบที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) ผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application Program Interface : API) หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ จากการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบงานอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอก สนข. ระบบการเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ สนข. อยู่แล้วในปัจจุบัน ประกอบด้วย กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และสํานักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ให้สามารถ ดําเนินการได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนที่ ๑ ของการปฏิบัติงานตามสัญญาไปอีก ๑๒ เดือน และมีระบบบริหาร จัดการข้อมูลที่ต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยมีข้อมูลอย่างน้อย ประกอบด้วย ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ข้อมูลการขนส่งสินค้า ข้อมูลการเดินทางของคน ปริมาณ การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(๓) พัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Transport Data Analytics) ที่สนับสนุนการตัดสินใจและการจัดทํานโยบายและแผน โดยจะต้องสามารถวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล ทางสถิติที่มีผลลัพธ์ในหลายรูปแบบตามความสัมพันธ์ของชุดข้อมูล เช่น การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงหลายมิติ (Multidimensional Analysis) เป็นต้น และต้องมีกระบวนการ ตรวจสอบความถูกต้องของผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้มีคุณภาพของข้อมูล (Data Quality) ที่ครบถ้วน และมี ระบบบริหารจัดการข้อมูลในรูปแบบ Web Application ที่สามารถปรับเปลี่ยนขนาดของเว็บไซต์ให้เหมาะสม กับการแสดงผลบนหน้าจอขนาดต่าง ๆ และความละเอียดของหน้าจอในอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน (Responsive Web Design) เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น
(๔) พัฒนาระบบการรายงานและระบบแสดงผล (Transport Data Publication) ข้อมูล ด้านคมนาคมของประเทศไทยที่สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล รายงานข้อมูล และแสดงผลข้อมูลในรูปแบบ ของ Dashboard ตาราง แผนภาพ แผนภูมิ และเชิงพื้นที่ที่ครอบคลุมความต้องการของผู้รับบริการ อย่างน้อย ประกอบด้วย ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ข้อมูลการขนส่งสินค้า ข้อมูลการเดินทางของคน ปริมาณ การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีระบบรองรับการสืบค้นข้อมูลจาก ผู้รับบริการที่สะดวก และเข้าถึงได้ง่าย โดยสามารถใช้งานในรูปแบบ Web Application ที่สามารถปรับเปลี่ยน ขนาดของเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับการแสดงผลบนหน้าจอขนาดต่าง ๆ และความละเอียดของหน้าจอในอุปกรณ์ ที่แตกต่างกัน (Responsive Web Design) เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น ให้พร้อมใช้งาน เข้าถึงและใช้งานได้ง่าย (User Friendly) พร้อมทั้งสามารถบันทึกข้อมูลรายงานผลในรูปแบบไฟล์ นามสกุลต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานของข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Government Data) เพื่อการนําไปใช้ประโยชน์
(๕) ติดตั้งและทดสอบการใช้งานของศูนย์ข้อมูลคมนาคมของประเทศไทย (Fransport Data Center) ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถใช้งานได้ตรงตามความต้องการ รวมทั้งปรับปรุงระบบ ให้มีความเหมาะสมในทางปฏิบัติมากที่สุด โดยอย่างน้อยจะต้องเป็นระบบที่จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลบนระบบ Cloud ที่สามารถรองรับระบบที่พัฒนาขึ้นได้ และ สนข. สามารถเข้าถึงและบริหารจัดการได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ในกรณีที่จําเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์อื่นหรือซอฟต์แวร์เพิ่มเติม เพื่อดําเนินการติดตั้งระบบที่พัฒนาขึ้น ในโครงการทั้งหมดให้สามารถใช้งานได้เป็นปกติ ผู้รับจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
(๖) ที่ปรึกษาต้องจัดหาและติดตั้งระบบของศูนย์ข้อมูลของประเทศไทย (Transport Data Center) ไว้บนระบบ Cloud นับตั้งแต่การส่งร่างต้นแบบ (Prototype) ของระบบภายในเดือนที่ 4 และต้องบํารุงรักษาระบบของศูนย์ข้อมูลคมนาคมฯ รวมทั้งระบบอื่น ๆ ที่พัฒนาขึ้นในโครงการให้ สนข. สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย ๑ ปี นับถัดจากที่ปรึกษาได้ส่งมอบงานงวดสุดท้าย และ สนข. ได้รับการตรวจรับงานถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว
๔.๑.๕ งานส่วนที่ ๕ การพัฒนาทักษะความรู้ด้านการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้านคมนาคม การนําข้อมูลด้านคมนาคมไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ และแนวทางการนําเสนอข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ สนข.
ที่ปรึกษาจะต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ด้านคมนาคม และการนําข้อมูลด้านคมนาคมไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ รวมทั้งแนวทางการนําเสนอข้อมูล และความรู้ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการศึกษานี้ให้ สนข. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะ และเสริมสร้าง ขีดความสามารถให้กับเจ้าหน้าที่ของ สนข. เพื่อนําผลการศึกษาที่จัดทําขึ้นไปดําเนินการให้เกิดการปฏิบัติได้ อย่างน้อย ๕ ครั้ง โดยดําเนินการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จํานวน ๓ ครั้ง ๆ ละ ๑ วัน มีผู้เข้าร่วมครั้งละไม่น้อยกว่า ๓๐ คน และในพื้นที่ต่างจังหวัด จํ