สถานที่ : สถาบันการบินพลเรือน
ผู้ว่าจ้าง : สถาบันการบินพลเรือน
วันที่เริ่มโครงการ : 28 มิ.ย. 63
วันสิ้นสุดโครงการ : 23 ธ.ค. 63
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ชัดเจนต่อสถานะสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) ทั้ง 5 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านธุรกิจ (Business) ด้านแอปพลิเคชัน (Application) ด้านข้อมูล (Data) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และด้านความปลอดภัย (Security)
2. เพื่อกำหนดกรอบและจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายในอนาคต (Target Enterprise Architecture) ทั้ง 5 ด้าน ให้ได้มาซึ่งสถาปัตยกรรมองค์กรของ สบพ.
3. เพื่อกำหนดแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ที่ส่งผลต่อการบรรลุถึงสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายในอนาคต (Target Enterprise Architecture)
4. เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ สบพ. ปีงบประมาณ 2564-2566 ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ สถาปัตยกรรมองค์กรของ สบพ. และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันโดยคำนึงถึงทิศทางหรือแนวโน้มด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
ขอบเขตการดำเนินงาน
1. จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรของ สบพ. โดยละเอียด พร้อมแสดงผลลัพธ์ของการดำเนินงานรายกิจกรรม และจัดให้มีการประชุมเริ่มงาน (Kick off Meeting)
เพื่อนำเสนอแผนการดำเนินงานให้พิจารณาก่อนการดำเนินงานจริง
2. ประเมินระดับความพร้อมต่อการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร ของ สบพ. และเลือกกรอบแนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรต้นแบบ ของ สบพ.
2.1 ศึกษาเปรียบเทียบกรอบการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร (EA framework) อย่างน้อย 3 กรอบแนวทางพัฒนา เช่น TOGAF, Zachman, FEAF, Gartner เป็นต้น และพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวทางที่เหมาะสมก่อนนำมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรต้นแบบ ของ สบพ.
2.2พิจารณากรณีศึกษาและตัวอย่างของหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อนำมาเป็นแนวทางจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรของ สบพ. โดยต้องทำการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 หน่วยงาน
2.3 ประเมินระดับความพร้อมของ สบพ. ต่อการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กร ทั้ง 5 ด้าน รวมถึงความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของ สบพ.
2.4 จัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาการประเมินความพร้อมผลการคัดเลือกกรอบแนวทางในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Framework) ที่เหมาะสมกับ สบพ.
3. จัดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี/องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร(Enterprise Architecture) โดยมีรายละเอียดการฝึกอบรมตามข้อ 4
4. จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) ของ สบพ.
4.1 สำรวจ วิเคราะห์สถานะสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) ของ สบพ. ซึ่งครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน รวมทั้งสำรวจประเด็นปัญหา และให้ข้อเสนอแนะ
4.2 จัดทำสถาปัตยกรรมการดำเนินงาน (Business Architecture) ที่ครอบคลุมในด้านโครงสร้างการบริหาร กระบวนการในการดำเนินงานและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาองค์กร
4.3 จัดทำสถาปัตยกรรมด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data Architecture) ที่แสดงถึงข้อมูลสำคัญประกอบกระบวนการต่าง ๆ ของหน่วยงานภายใน สบพ. พร้อมรายการข้อมูลที่ให้บริการแก่หน่วยงานภายนอก
4.4 จัดทำสถาปัตยกรรมด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture) ที่มีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ รายการระบบงาน แผนภาพแสดงการเชื่อมต่อของระบบงาน
(Context diagram) ฐานข้อมูล การสำรองข้อมูล และเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนา
4.5 จัดทำสถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน (Technology Architecture) ที่ครอบคลุมในด้านแผนผังระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย แผนผังระบบเครือข่าย การจัดพื้นที่ (Zone diagram) และการแบ่งกลุ่มผู้ใช้งาน
4.6 จัดทำสถาปัตยกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Architecture) ที่ครอบคลุมการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรแต่ละด้าน โดยอ้างอิงกับมาตรฐานที่มีอยู่และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
4.7 จัดทำรายงานสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) ให้ครอบคลุมกิจกรรมทั้ง 5 ด้าน โดยมีรายละเอียดข้อมูลสถาปัตยกรรมองค์กรในแต่ละด้านที่สอดคล้องตามกระบวนการที่ระบุถึงข้อมูลหลักของกระบวนการ แหล่งที่มาของข้อมูลและผู้ใช้งานข้อมูล
5. ออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายในอนาคต (Target Enterprise Architecture) เพื่อแสดงให้เห็นถึงสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Future State of Enterprise Architecture) โดยนำเอาทั้งปัจจัยภายใน (ประเด็นปัญหาจากการวิเคราะห์สถานะปัจจุบัน และความต้องการ) และปัจจัยภายนอกมาใช้เพื่อบูรณาการสถาปัตยกรรมองค์กรทั้ง 5 ด้าน พร้อมทั้งจัดทำรายงาน
6. วิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) และสถาปัตยกรรมเป้าหมายในอนาคต (Target Enterprise Architecture)
ที่ต้องการพร้อมจัดทำรายงาน
7. ออกแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมเป้าหมายและผลการวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) และสถาปัตยกรรมเป้าหมายในอนาคต (Target Enterprise Architecture) ที่ต้องการ โดยมีการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค ปัจจัยภายใน ภายนอก (SWOT Analysis) ความต้องการและความหวังการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ภารกิจของแต่ละหน่วยงานใน สบพ.
8. จัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ต่อแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมายในอนาคต (Target Enterprise Architecture) และร่างยุทธศาสตร์การพัฒนา
9. การประชุมเพื่อนำเสนอร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและสถาปัตยกรรมเป้าหมายต่อผู้บริหารเพื่อให้ความเห็นชอบ
10. ศึกษา วิเคราะห์สมรรถนะของบุคลากรและกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งสอดคล้องกับการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรและเสนอแนะแนวทางการเพิ่มสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศพร้อมทั้งจัดทำรายงานแนวทางการพัฒนาบุคลากร
11. จัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ สบพ. ปีงบประมาณ 2564-2566 ที่สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมเป้าหมายที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ภาพรวมขององค์กรของ สบพ.
บทที่ 3 นโยบายและยุทธศาสตร์ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของ สบพ.
บทที่ 4 วิสัยทัศน์ นโยบาย พันธกิจและยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
4.1 การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (SWOT Analysis)
4.2 วิสัยทัศน์ นโยบาย พันธกิจและยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
4.3 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลกับยุทธศาสตร์ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 5 แผนปฏิบัติการดิจิทัลของ สบพ.
5.1 แผนงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างน้อยต้องประกอบด้วยโครงการ/กิจกรรมสำคัญ อันเป็นผลมาจากข้อ 3.6, 3.7 และ 3.8
5.2 ภาพรวมงบประมาณ
บทที่ 6 แผนพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างการบริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 7 แผนการบริหารจัดการ การติดตามประเมินผล และตัวชี้วัดความสำเร็จ
7.1 การกำกับดูแล
7.2 การติดตามประเมินผล และตัวชี้วัดความสำเร็จ
7.3 ความเสี่ยงและผลกระทบในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนปฏิบัติการดิจิทัล
12. จัดการประชุมสัมมนา สบพ. เพื่อนำเสนอผลการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรในปัจจุบัน (Current Enterprise Architecture) ผลการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (Target
Architecture) และ Gap analysis และแผนปฏิบัติการดิจิทัล จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง
13. จัดทำแนวทางและคู่มือการบริหารและกำกับดูแลการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของ สบพ. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของ สบพ. ต่อไปในอนาคต