สถานที่ : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าจ้าง : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
วันที่เริ่มโครงการ : 28 มิ.ย. 63
วันสิ้นสุดโครงการ : 21 ก.พ. 64
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ชัดเจนต่อสถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กร (As. is Enterprise Architecture) ทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านธุรกิจ (Business) ด้านแอพพลิเคชั่น (Application) ด้านข้อมูล (Data) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security)
2. เพื่อกำหนดกรอบสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (To be Enterprise Architecture) ทั้ง 5 ด้าน เพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพและให้เป็นไปตามเป้าหมายของ กนอ.
3. เพื่อวิเคราะห์ถึงความแตกต่างระหว่างสถานะปัจจุบันและสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Gap Analysis) ของ กนอ.
4. เพื่อประเมินระดับความพร้อมของหน่วยงาน กนอ. ต่อการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation Assessment)
5. เพื่อกำหนดกรอบแนวทางและแผนการดำเนินงานสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation Roadmap) ของ กนอ. ได้แก่ ด้านบุคลากร (People) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านเทคโนโลยี (Technology) ที่ส่งผลต่อการบรรลุถึงสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (To be Enterprise Architecture) ของ กนอ.
ขอบเขตการดำเนินงาน
ที่ปรึกษาที่ได้รับคัดเลือกให้ดำเนินงานตามขอบเขตของงาน (Term of Reference) จะต้องดำเนินการให้ครอบคลุมงานตามรายละเอียด ดังนี้
1.1 จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการให้แก่ กนอ. ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันลงนามในสัญญาที่ประกอบด้วยรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
(1) กรอบแนวคิด วิธีการ ขั้นตอน แผนการดำเนินโครงการฯ ที่ระบุกิจกรรมบุคลากรที่รับผิดชอบ ความสัมพันธ์ระหว่างงาน งวดงานส่งมอบงาน ข้อเสนอแนะและแสดงผลลัพธ์ของการดำเนินงานรายกิจกรรม
(2) รายงานการศึกษากรอบแนวทางการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture Framework) โดยศึกษาเปรียบเทียบกรอบแนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร อย่างน้อย
3 กรอบแนวทาง พร้อมข้อเสนอแนวทางที่เหมาะสมกับ กนอ.
(3) รายงานการศึกษาเครื่องมือประเมินระดับความพร้อม (Readiness) สำหรับประเมินหน่วยงานต่าง ๆ ใน กนอ. ต่อการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation Assessment) พร้อมข้อเสนอวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับ กนอ.
1.2 จัดประชุมเปิดตัวโครงการ (Kick off) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันลงนามในสัญญา พร้อมนำเสนอแผนการดำเนินโครงการในข้อ 3.1 ให้แก่ผู้บริหาร และพนักงาน กนอ. ที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 0.5 วัน หรือตามที่ กนอ. เห็นชอบโดยค่าใช้จ่ายเป็นของที่ปรึกษาทั้งหมด
1.3 จัดอบรมเสริมสร้างความรู้ควมเข้าใจและความตระหนักรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) ภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันลงนามในสัญญาให้กับผู้บริหารตั้งแต่ระดับต้นจนถึงผู้บริหารระดับสูงและพนักงาน กนอ. ที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คน ระยะเวลา 1 วัน หรือตามที่ กนอ. เห็นชอบ โดยค่าใช้จ่ายเป็นของที่ปรึกษาทั้งหมดซึ่งจะต้องครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
(1) EA Concept
(2) EA Frameworks
2.1) กรอบแนวคิดสถาปัตยกรรมของ Zachman
2.2) กรอบแนวคิดสถาปัตยกรรมของ The Open Group Architecture (TOGAF)
2.3) กรอบแนวคิดสถาปัตยกรรมของ Federal Enterprise Architecture (FEAF)
(3) EA Governance
(4) EA Maturity Model
(5) How to Develop EA Frameworks
(6) EA Implementation
(7) EA Management
(8) Consolidated Reference Models
(9) Performance Reference Models
(10) Business Reference Models
(11) Data Reference Models
(12) Infrastructure Reference Models
(13) Security Reference Models
1.4 จัดอบรมหลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หรือกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ หรืออื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ ตามที่ กนอ. เห็นชอบ จำนวน 1 หลักสูตร ภายใน 45 วัน
นับตั้งแต่วันลงนามในสัญญา ให้แก่ผู้บริหาร และพนักงาน กนอ. ที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 70 คน ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 0.5 วัน โดยค่าใช้จ่ายเป็นของที่ปรึกษาทั้งหมด
1.5 การศึกษาและการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของ กนอ.
1.5.1 ศึกษาการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) จากหน่วยงานระดับฝ่ายของ กนอ. สำนักงานใหญ่ ขึ้นไป โดยจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) อย่างน้อยหน่วยงานละ 2 ครั้ง หรือตามที่ กนอ. เห็นชอบ และจัดประชุมที่สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมฯ และสำนักงานท่าเรือฯ ไม่น้อยกว่า 3 แห่ง โดยค่าใช้จ่ายเป็นของที่ปรึกษาทั้งหมดเพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาวิเคราะห์และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรของ กนอ. โดยให้ครอบคลุมรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
(1) ประเมินความพร้อมของ กนอ. ในการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรแบบดิจิทัล (Digital Transformation Assessment)
(2) ปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรแบบดิจิทัล
(3) มีการดำเนินการที่พิจารณาถึงความสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย (พ.ศ. 2563 – 2565) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน แผนยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม แผนยุทธศาสตร์ กนอ. และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
(4) มีการดำเนินการที่พิจารณาถึงข้อกฎหมาย ระเบียบข้อกำหนดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยครอบคลุมกฎหมายอย่างน้อยดังนี้
– พ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
– พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
– พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562
– พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560
– และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.5.2 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรปัจจุบัน (As is Architecture) ในระดับที่ 1 (Domain) สำหรับระบบบริการหลักและระบบสนับสนุนหลักตามพันธกิจและภารกิจของ กนอ. โดยให้ครอบคลุมความสามารถในปัจจุบัน (Current Capability) ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(1) ด้านการดำเนินงานทางธุรกิจ (Business)
(2) ด้านแอปพลิเคชั่น (Application)
(3) ด้านข้อมูล (Data)
(4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
(5) ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security)
ทั้งนี้ โดยต้องมีการศึกษา วิเคราะห์ กรณีตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่คล้ายคลึงกับ กนอ. ทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาในข้อ 1.5.3
1.5.3 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (To be Architecture) สำหรับ ระบบบริการหลักและระบบสนับสนุนหลักตามพันธกิจและภารกิจขจง กนอ. ในระดับที่ 1 (Domain) ที่ครอบคลุมความสามารถ (Capability) ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(1) ด้านดำเนินงานทางธุรกิจ (Business Architecture)
(2) ด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data Architecture) โดยมุ่งเน้นด้านความสามารถในการใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นเอกภาพและความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร
(3) ด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture) โดยมุ่งเน้นกาเชื่อมโยงกับความสามารถด้านการดำเนินงานทางธุรกิจ
(4) ด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Architecture) ที่ครอบคลุมในด้านคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและระบบเครือข่าย
(5) ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Architecture) โดมุ่งเน้นระบบเครือข่ายและความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan)
1.5.4 ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำกรอบแนวทางและแผนการปรับปรุงสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation Roadmap and initiative Plan) ของ กนอ. โดยมุ่งเน้นการตอบสนองต่อเกณฑ์การประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (enablers) ทั้ง 8 ด้าน โดยรายละเอียดของแผนการปรับปรุงองค์กรฯ อย่างน้อยต้องประกอบด้วย หลักการเหตุผล วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ และงบประมาณ พร้อมทั้งระบุความสำเร็จ และ หรือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงานตามแผน โดยตัวชี้วัดทางด้านการเงิน และหรือไม่ใช่การเงินและต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และทิศทางการดำเนินงานของ กนอ.
1.5.5 เสนอแนะแนวทางกำกับดูแลและการบริหารจัดการสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture Governance) ของ กนอ.
1.5.6 เสนอแนะแนวทางการจัดทำหรือปรับแก้ฎหมาย กฎระเบียบ และนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการให้บริการระบบสารสนเทศของ กนอ. ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อให้รองรับการสนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมส่งเสริมและสนับสนุนเอกชนหรือองค์กรของรัฐจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการจัดให้มีระบบและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การอนุมัติอนุญาตประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมรวมถึงสิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกแก่การประกอบอุตสาหกรรม อย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน และ ประชาชนทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการใช้สารสนเทศของ กนอ. รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับหน่วยงานรัฐ ต่าง ๆ
1.5.7 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (To Be Architecture) และร่างแผนการดำเนินงานสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation Roadmap and Initiative Plan) ร่วมกับผู้บริหาร กนอ. ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน อย่างน้อย 1 ครั้ง ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 0.5 วัน หรือตามที่ กนอ. เห็นชอบ และจัดให้มีการบันทึกเสียง ภาพนิ่ง และวีดีทัศน์โดยที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
1.6 การศึกษาและการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของ กนอ.ระดับที่ 2 (Sub-Domain)
1.6.1 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรปัจจุบัน (As is Architecture) ในระดับที่ 2 (Sub-Domain) สำหรับกระบวนการการอนุมัติอนุญาตใช้ที่ดินและประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม โดยให้ครอบคลุมความสามารถในปัจจุบัน (Current Capability) ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(1) ด้านสถาปัตยกรรมการดำเนินงานทางธุรกิจ (Business)
(2) ด้านแอปพลิเคชั่น (Application)
(3) ด้านข้อมูล (Data)
(4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
(5) ด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security)
ทั้งนี้ โดยต้องมีการศึกษา วิเคราะห์ กรณีตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่คล้ายคลึงกับ กนอ. ทั้งในและต่างประเทศเพี่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาในข้อ 1.6.2
1.6.2 ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (To be Architecture) สำหรับ ระบบการอนุมัติ อนุญาตการใช้ที่ดินและประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ในระดับที่ 2 (Sub-Domain) ที่ครอบคลุมความสามารถ (Capability) ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(1) สถาปัตยกรรมการดำเนินงานทางธุรกิจ (Business Architecture)
(2) สถาปัตยกรรมด้านข้อมูลสารสนเทศ (Data Architecture) โดยนุ่งเน้นด้านความสามารถในการใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นเอกภาพและความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร
(3) สถาปัตยกรรมด้านระบบงานและโปรแกรมประยุกต์ (Application Architecture) โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงกับความสามารถด้านการดำเนินงานทางธุรกิจ
(4) สถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Architecture) ที่ครอบคลุมในด้านคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและระบบเครือข่าย
(5) สถาปัตยกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security Architecture) โดยนุ่งเน้นระบบเครือข่ายและความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan)
1.6.3 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อสถาปัตยกรรมองค์กรเป้าหมาย (To Be Architecture) และร่างแผนการดำเนินงานสำหรับการพัฒนา/ปรับปรุงระบบการอนุมัติ-อนุญาตการใช้ที่ดินและประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ร่วมกับ ผู้บริหาร กนอ. ผู้เชี่ยวชาญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่น้อยกว่า 30 คน อย่างน้อย 1 ครั้ง ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 0.5 วัน หรือตามที่ กนอ. เห็นชอบ และจัดให้มีการบันทึกเสียง ภาพนิ่ง และวีดีทัศน์ โดยที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด