ผู้ว่าจ้าง : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันที่เริ่มโครงการ : 30 มีนาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ : 24 พฤศจิกายน 2561 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ชัดเจนต่อสถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กร (Current state of State Architecture) ทั้ง 4 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านธุรกิจ(Business) ด้านแอปพลิเคชั่น (Application) ด้านข้อมูล (Data) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure) และด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security)
  2. เพื่อกำหนดกรอบของสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Future State of Enterprise Architecture) ทั้ง 4 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านธุรกิจ (Business) ด้านแอปพลิเคชั่น (Application) ด้านข้อมูล (Data) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security)
  3. เพี่อวิเคราะห์ถึงความแตกต่าง (Gap Analytic) ระหว่างสถานะปัจจุบันและอนาคตของ สถาปัตยกรรมองค์กร
  4. เพี่อกำหนดแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ที่ส่งผลต่อการบรรลุถึงสถานะอนาคตของ สถาปัตยกรรมองค์กร (Future State of Enterprise Architecture)
  5. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมและผลักดันกรอบการออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรไปสู่การขับเคลื่อน

ขอบเขตของโครงการ

  1. จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยละเอียด โดยต้องประกอบไปด้วย การจัดทำกรอบแนวคิด ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีการดำเนินงาน พร้อมแสดงผลลัพธ์ของการดำเนินงานรายกิจกรรมเป็นอย่างน้อย
  2. จัดสัมมนาเปิดโครงการพร้อมทั้งนำเสนอความรู้และความสำคัญของการพัฒนาสถาปัตยกรรม องค์กร แนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรภาครัฐ การเสวนาผู้แทนหน่วยงานที่มีการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรที่ประสบความสำเร็จเพี่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์จาก 3 หน่วยงานและนำเสนอแผนการดำเนินงาน การรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เข้าร่วมสัมมนา
  3. การประเมินความพร้อมของหน่วยงานต่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร
    3.1 ทำการศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ สถานะปัจจุบันขอสถาปัตยกรรมองค์กร (Current State of State Architecture) ทั้ง 5 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านธุรกิจ (Business) ด้านแอปพลิเคขั่น (Application) ด้านข้อมูล(Data) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และด้านความมั่นคงปลอดภัย (Security)
    3.2 ประเมินระดับความพร้อมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร โดยใช้กรอบแนวทางตามมาตรฐานสากล เข่น ACMM เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์ สถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 5 ด้าน รวมถึงความพร้อมในด้านต่างๆ ของหน่วยงานต่อการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร
    3.3 จัดทำรายงานสถานะปัจจุบันของสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 5 ด้านและผลการประเมินความพร้อมในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรที่มีข้อเสนอแนะต่อผลการประเมินที่ได้รับเพื่อให้ผู้ว่าจ้างพิจารณา
  4. การศึกษากรอบแนวทางการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรที่เหมาะสมกับหน่วยงาน
    4.1 ทำการศึกษาเปรียบเทียบกรอบการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร (EA development framework) อย่างน้อย 3 กรอบแนวทางการพัฒนาตามสากล โดยเสนอให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวทางที่เหมาะสมก่อนนำมาใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    4.2 จัดทำรายงานสรุปผลการศึกษาและจัดทำรายละเอียดข้อมูลสถาปัตยกรรมองค์กรในแต่ละด้านที่สอดคล้องตามกระบวนการโดยระบุถึงข้อมูลหลักของกระบวนการ แหล่งที่มาของข้อมูลและผู้ใช้งานข้อมูล
    5. การฝึกอบรม
    จัดฝึกอบรมบุคลากรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามความจำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
    5.1 หลักสูตร EA for Executive จำนวน 1 รุ่น แก่ผู้บริหารในระดับผู้อำนวยการ โดยมี ระยะเวลาการฝึกอบรม 1 วัน ไม่น้อยกว่า 25 คน
    5.2 หลักสูตรเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร จำนวน 1 รุ่น ให้แก่บุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีระยะเวลาการฝึกอบรมอย่างน้อย 2 วัน มีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 60 คน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถกำหนดกรอบของสถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กรของหน่วยงาน และของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้
    5.3 ที่ปรึกษาจะต้องจัดทำแผนการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้เป็นอย่างน้อย
    1) วัตถุประสงค์
    2) หัวข้อการฝึกอบรม
    3) วิธีการฝึกอบรม
    4) เอกสารประกอบการฝึกอบรม
    5) ระยะเวลาการฝึกอบรม
    6) สถานที่ฝึกอบรม
    7) รายละเอียดอื่นๆ (ถ้ามี)
    5.4 ที่ปรึกษาต้องเสนอแผนการฝึกอบรมให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาและให้ความเห็นชอบก่อนการฝึกอบรม โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    1) ที่ปรึกษาเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฝึกอบรม อาทิ วิทยากร อาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารในการฝึกอบรม ตลอดจนจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมและสถานที่ในการฝึกอบรม
    2) วิทยากรที่จะมาฝึกอบรมดังกล่าวต้องมีความรู้ความสามารถเป็นวิทยากรอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3) สำหรับหลักสูตร 4.5.1 และ 4.5.2 ข้างต้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
    4) ผลที่ได้จากการฝึกอบรมทั้งหมดจะต้องนำมาใช้ประกอบการกำหนดกรอบของ สถานะอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กรทั้ง 5 ด้าน
    5.5 ในกรณีที่ปรึกษาได้มีการจัดเตรียมการฝึกอบรมตามกำหนดวันที่ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการฯ แล้วแต่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาไม่ครบจำนวนไม่ถือว่าเป็นความผิดของที่ปรึกษาและให้สามารถจัดฝึกอบรมได้
    5.6 หากที่ปรึกษามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดของการฝึกอบรมที่ผ่านการเห็นชอบแล้วต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าจ้างก่อน
    6. การจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    6.1 นำผลที่ได้จากการศึกษาตามข้อ 4.3, ข้อ 4.4 และการฝึกอบรมข้อ 4.5 มาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสถานะบัจจุบันและอนาคตของสถาปัตยกรรมองค์กร (Gap Analytic)
    6.2 จัดทำสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    6.3 จัดทำแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ที่ส่งผลต่อการบรรลุถึงสถานะอนาคตของ สถาปัตยกรรมองค์กร (Future State of Enterprise Architecture) โดยละเอียด
    7. การจัดทำแนวทางการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (EA Governance)
    7.1 จัดทำรายงานแนวทางการกำกับดูแลสถาปัตยกรรมองค์กร (EA Governance) ให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร
    7.2 จัดทำแผนการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจัดแบ่งเป็นแผนงานระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
    8. การจัดสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานโครงการให้แก่ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    9. จัดประชุมเพื่อรายงานความก้าวหน้าร่วมกับผู้ว่าจ้าง ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง จนกว่างานทั้งหมดจะแล้วเสร็จ